วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 13 การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

         สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถของบุคคลในอันที่จะใช้ระบบต่างๆ กระทำกิจกรรมใดๆ อันเกี่ยวกับการแสดงออกซึ่งความสามารถทางร่างกายได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว เราจะทราบได้ว่าเรามีสมรรถภาพทางกายในด้านในมากหรือน้อย ก็โดยการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้วย แบบทดสอบมาตรฐาน เมื่อเรามีสมรรถภาพทางกายในด้านใดน้อย เราก็สามารถเสริมสร้างขึ้นมาได้ด้วยการกำหนดการฝึกหรือออกกำลังกายต่อไปการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย เป็นการปรับปรุงสภาวะของร่างกายให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่สูง และมีการประสานงานกันของระบบต่างๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี
ความสำคัญและความจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย                                                
         ปัจจัยที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข ได้แก่ อาหาร น้ำ อากาศ แสงแดด การออกกำลังกาย การพักผ่อน และสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ จะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายนับเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวอันเป็นบ่อเกิดแห่งพัฒนาการด้านต่างๆอ่านต่อ

บทที่ 12 การช่วยฟื้นคืนชีพ

ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ  (Cardiopulmonary resuscitation : CPR) หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก
ข้อบ่งชี้ในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ โดยที่หัวใจยังคงเต้นอยู่ประมาณ 2-3 นาที ให้ผายปอดทันที จะช่วยป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ และช่วยป้องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนอย่างถาวร
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่า clinical death การช่วยฟื้นคืนชีพทันทีจะช่วยป้องกันการเกิด biological death คือ เนื้อเยื่อโดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจน
       ระยะเวลาของการเกิด biological death หลังจาก clinical death ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่โดยทั่วไป มักจะเกิดช่วง 4-6 นาที หลังเกิด clinical death ดังนั้นการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพจึงควรทำภายใน 4 นาที
ลำดับขั้นในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ
A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
B - Breathing : การช่วยให้หายใจ
C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง

1. A : Airway หมายถึง การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติการขั้นแรก ที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว  อ่านต่อ


บทที่ 11 สัมพันธ์ดี มีไมตรี เลี่ยงความขัดแย้ง

ปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย
2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้
3.การพูด การพูดที่ดี มีศิลปะในการพูด ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดให้เกียกับคนที่เราพูดด้วย
4.สายตา สาตตาจะบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด คนที่คิดดีสายตาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตร ไม่เสแสร้ง
5.จิตใจดี มองโลกในแง่ดีมีความจริงใจให้แก่เพื่อน การแสดงออกต่อบุคคลอื่นจะเป็นเรื่องดีๆเป็นส่วนใหญ่ และเสมอต้นเสมอปลาย
6.สติปัญญาดีและไหวพริบดี จะช่วยให้รู้จักสังเกตและพิจารณาคนที่คุยด้วยพูดสนทนาด้วยว่าเป็นคนอย่างไร จะช่วยให้การสร้างสัมพันธภาพง่ายขึ้น
ความสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
มีความสำคัญ ดังนี้
1.ทำให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น
2.มีเพื่อนและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.มีความรู้สึกที่ดีต่อคนอื่น  อ่านต่อ


บทที่ 10 สารเสพติดให้โทษ

ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ
2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น
3. มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)
4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม
ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสติด
ประเภทของยาเสพติด
ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้
ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย
ข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ   อ่านต่อ




บทที่ 9 ป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา

         ยาทุกตัว ย่อมมีทั้งคุณและโทษควบคู่อยู่ด้วยเสมอ ในการใช้ยาจึงต้องใช้อย่างรู้เท่าทันว่ายาแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไร, ใช้ขนาดเท่าไหร่, นานเท่าไหร่ และอาจมีโทษอะไรได้บ้าง ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ
     อันตรายของยาอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
   - กินแอสไพริน  ขนาดมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ถึงตายได้
   - กินยารักษาเบาหวานมากเกิน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นลม ถึงตายได้
2. ผลข้างเคียงของยา (Side effect) ยาทุกตัวจะมีผลที่ไม่เป็นคุณหรือเป็นโทษ อยู่ควบคู่กับประโยชน์ของมัน
เสมอ เช่น
   - ทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะ (กัดกระเพาะ) เป็นโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติกได้ เช่น ยาแอสไพริน
     ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ , สเตอรอยด์ , รีเซอร์พีน
   - ทำให้หูหนวก เสียการทรงตัว หรือเป็นพิษต่อไต เช่น สเตรปโตไมชิน, คานาไมซิน (Kanamycin) ทำให้เกิด
     ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Agranulocytosis) เช่นไดไพโรน, ซัลฟา
     - ทำให้ฟันเหลืองดำ เช่น เตตราไซคลีน ข้อที่ควรระวังอย่างยิ่งคือ ผลที่มีต่อเด็กเล็ก และทารกในครรภ์มารดา

3. การแพ้ยา (Drug allergy หรือ Drug hypersensitivity)   อ่านต่อ

บทที่ 8 ใส่ใจความปลอดภัย

ภัยในบ้าน
บ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เพราะที่อยู่อาศัยของคนเรา ปกติแล้วในบ้านน่าจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับคนในบ้าน แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่จะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุที่ไม่คาดคิดภายในบ้าน เช่น
1.การพลัดตกหกล้ม อาจเกิดขึ้นภายในบ้านและอาจทำให้บาดเจ็บ จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล้านี้ด้วย
    1.1 ควรล้างห้องน้ำให้สะอาดเสมอไม่ให้ลื่น เพราะอาจทำให้ลื่นล้มในห้องน้ำได้ จนอาจหัวฟาดพื้นได้ จนถึงต้องเข้าโรงพยาบาล
    1.2 การยกของขึ้นหรือลงบันได อย่าละสายตาจากทางเดินหรือยกของหนักจนเกินไป
    1.3 ถ้าพื้นบ้านปูนหรือกระเบื้องน้ำหก จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรเช็ดให้แห้งทันที
2. ภัยจากไฟฟ้า  ขณะนี้แทบจะ 100%ที่ทุกครั้งหลังใช้ไฟฟ้าใช้แล้ว จึงอาจเกิดเหตุที่อันตรายมาก เพราะเราไม่สามารถมองเห็นไฟฟ้าได้ และวิธีมีการป้องกันดังนี้
    2.1 ถ้ามือเปียกหรือยืนในที่เปียก ก็ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
    2.2 ควรติดเต้าเสียบให้สูงกว่าไม่น้อยกว่าพื้นประมาณ 1.20 เมตรเพื่อไม่ให้เด็กเล็กเข้าใกล้ได้
    2.3 ควรใช้ฟิวส์ขนาดพอเหมาะกับวงจรไฟฟ้า
3. ภัยจากแก๊สหุงต้ม ภัยที่มักพบ ได้แก่แก๊สรั่ว แก๊สระเบิด ควรระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะก่อให้เกิดเหตุที่อันตรายอย่างมากซ้ำแล้วยังทำให้คนรอบข้าง หรือบ้านใกล้เรือนเคียงได้ได้รับความเสียหาย  อ่านต่อ

บทที่ 7 สุขภาพชุมชน

  ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ
            การสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานทางด้านสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นระบบสุขภาพเป็นระบบสร้างนำซ่อม กล่าวคือเดิมสุขภาพเป็นระบบตั้งรับ คือรอให้เจ็บป่วยแล้วจึงนำมาซ่อมหรือนำมารักษา ทำให้ประชาชนคนไทยเจ็บป่วยและตายก่อนวัยอันควร เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก แต่แนวคิดปัจจุบันเป็นระบบเชิงรุก พยายามทำทุกวิถีทางที่จะสร้างสุขภาพให้มีสุขภาพดีให้มากที่สุด ซึ่งทุกคนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและมีการปฏิบัติตนหรือมีพฤติกรรมสุขภาที่ถูกต้องโดยมีการปฏิบัติที่ทำให้มีความสุขที่ดี  อ่านต่อ

บทที่ 6 โรคจากการประกอบอาชีพและพันธุกรรม

ความหมายและความสำคัญของโรคจากการประกอบอาชีพ โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพหรือเนื่องจากการทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน เกี่ยวกับเงินทดแทน ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับงานหรืออยู่ในบรรยากาศของการทำงานที่เป็นพิษภัย จนเป็นสาเหตุทำ ให้สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมจนเจ็บป่วยเป็นโรค หรือพิการ การเจ็บป่วย หมายถึง การี่ลูกจ้างคนงานผู้ที่อยู่ในบรรยากาศของการทำงาน เกิดอาการเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพงาน หรือเรียกว่าการเจ็บป่วยเป็นโรคจากการประกอบอาชีพ   โรคจากการประกอบอาชีพอาจเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย เช่น การ บาดเจ็บอย่างเฉียบพลันจากการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งถูกตัดโดยอุปกรณ์เครื่องจักร เครื่องมือ การบาดเจ็บอย่างเรื้อรังของร่างกายทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ปฏิกิริยาภูมิแพ้จากบรรยากาศในการทำงาน โรค 116 HA 233 ปอดชนิดต่าง ๆ จากฝุ่น หรือวัตถุ และอื่น ๆ อ่านต่อ